Pattaya Tourist Attraction, Thailand
Buddha Mountain : Khao Chi Chan |
เขาชีจรรย์ พัทยา |
|
พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา : Bhudda Mountian |
|
พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักด้วยแสงเลเซอร์บนหน้าผาของเขาชีจรรย์ ศิลปสุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 130 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร มีชื่อว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” |
|
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุระบรรจุพระรัตนะบรมสารีริกธาตุ บริเวณโดยรอบตกแต่งเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจสวยงาม อยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
|
|
 |
|
ประวัติการสร้าง |
จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่า เขาชีจรรย์ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1/4 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะสูงชันมากยอดเขาสูงที่สุดมีความสูง 248 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 180 เมตรจากระดับพื้นดิน เขาชีจรรย์เป็นหินเนื้อปูนประกอบด้วยหินอ่อนแคลก์ซิลิเกต, รูปเลนส์, ขนาบด้วยหินฟิลไลต์, หินฉนวน, และหินเมต้าเชิร์ต |
|
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหา สังฆปริณายก เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งทรงเสียดายเขาชีจรรย์ที่มีภูมิทัศน์ยิ่งใหญ่สง่างามตามธรรมชาติ แต่กำลังถูกระเบิดทำลายทุกวัน จึงทรงดำริที่จะอนุรักษ์เขาชีจรรย์ให้คงชื่ออยู่คู่กับเขาชีโอน ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ด้วยการสร้างพระพุทธรูปแกะสลัก บนหน้าผาเขาชีจรรย์ ให้เป็นปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2527 ถึงพุทธศักราช 2533 |
|
คณะกรรมการกำหนดรูปแบบพระพุทธรูปแกะสลักหินหน้าผาเขาชีจรรย์ ซึ่งตั้งโดยคณะ กรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้กำหนดข้อยุติสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยเลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะ สุโขทัยผสมล้านนา ขนาดความสูง 109 เมตรหน้าตักกว้าง 70 เมตรฐานบัวหรือบัวบัลลังค์สูง 21 เมตรรวมความสูงขององค์พระ และบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตรเป็นแบบนูนต่ำ |
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทานนามพระ พุทธรูปว่า ” พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา ” มีความหมายว่า ” พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ ” |
|
|
การจัดสร้างพระพุทธรูปแกะสลักแบ่งงานเป็น 2 ส่วนคือ |
ส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างพระพุทธรูปหน้าผาเขาชีจรรย์ |
ส่วนที่สอง คือการตกแต่งภูมิทัศน์รอบองค์พระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ |
|
งานระยะแรก เริ่มจากการสำรวจเพื่อการปรับแต่งผิวหน้าผาและเพื่อกำหนดความลึกของลายเส้นขององค์พระจากนั้นจึงระเบิดปรับ เกลา และปิดรอยแตกร้าวด้วยวัตถุชนิดเดียวกับหน้าผา จากนั้นงานระยะที่สองทำการสแกนภาพต้นแบบของพระพุทธรูปไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วบันทึกโปรแกรมส่งไปยังสแกนเนอร์เพื่อควบคุมการยิงเลเซอร์เพื่อวาดภาพบนเขา ซึ่งการฉายแสงวาดภาพบนเขาต้องทำในเวลากลางคืนเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจนให้คนงานโรยตัวด้วยเชือกลงมาจากยอดเขา แล้วใช้สีฝุ่นวาดแต้มเป็นจุดตามที่แสงเลเซอร์กำหนดไว้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจาก ผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก และฝนก็ยังได้ตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี |
|
และในวันที่31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานมหากรุณาธิคุณเสด็จฯไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตรและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลสืบไป |
|
พระพุทธรูปแกะสลัก ได้รับนามพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นามว่า “พระพุทธมหาวชิร อุตตโมภาสศาสดา” ซึ่งมีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดา ที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระภาพ ขอสิ่งใด ได้สิ่งนั้น |
|
|
ที่มา : เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ |
www.khaocheechan.com |