|
|
" เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กาญจนบุรี : Mallika Kanchanaburi " |
|
|
|
|
Thai/ไทย : English |
|
|
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กาญจนบุรี |
|
|
|
สำนักงานกรุงเทพฯ |
|
|
- |
|
|
โทรศัพท์ |
- |
|
|
โทรสาร |
- |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สำนักงานโครงการ |
|
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กาญจนบุรี |
|
168 หมู่ 5 ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค
จังหวัดกาญจนบุรี 71150
|
|
|
|
โทรศัพท์ |
|
|
|
|
โทรสาร |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Email |
|
|
|
|
|
|
|
|
Website |
|
|
|
Facebook |
www.facebook.com/MallikaR.E.124
|
|
Etc., |
- |
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดโครงการ |
|
|
|
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กาญจนบุรี : Mallika Kanchanaburi |
|
|
|
การเดินทาง โดยรถยนต์ |
ขับรถมาตามเส้นทาง กรุงเทพ-กาญจนบุรี และไปตามทางหลวงหมายเลข 323 เส้นทางสายกาญจนบุรี -ไทรโยค จนถึงกิโลเมตรที่ 15 เมืองมัลลิกาตั้งอยู่ซ้ายมือข้างปั๊มน้ำมันบางจาก ก่อนถึงทางเข้าปราสาทเมืองสิงห์
|
|
|
เมืองมัลลิกา ร.ศ. ๑๒๔ |
" เมืองแห่งวัฒนธรรม และวิถีชน " |
|
เมืองมัลลิกา เป็นเมืองย้อนยุคของวิถีชีวิตชาวสยามบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ วิถีชีวิตของชาวสยามในยุค ร.ศ.๑๒๔ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายหลายด้าน ที่เด่นชัดมากคือการประกาศเลิกทาส เมื่อทาสได้รับความเป็นไทพวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่อาศัยและทำมาหากินด้วยตนเอง ไม่ได้อยู่ภายใต้อาณัติหรือการดูแลของบรรดาเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป พวกเขาต้องดำรงชีวิตให้อยู่รอด พึ่งตนเอง และอยู่ร่วมกับคนสยามทุกหมู่เหล่า การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเหล่านี้นับเป็นรากเหง้าสำคัญของคนไทยในยุคปัจจุบัน
|
|
 |
|
สถานที่ จุดที่น่าสนใจ |
|
สะพานหัน |
ชื่อนี้เรียกตามจาก ลักษณะของตัวสะพานที่ สมัยก่อนนั้นจะเป็นไม้แผ่นเดียวพาดข้ามคลอง ปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ ส่วนอีกข้างจะไม่ตอกติด จับหันไปมาได้เพื่อให้เรือแล่นผ่านต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างใหม่เป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนทำเป็นแบบสะพานริอัลโตทีนครเวนิซ และที่ปองเตเวกคิโอ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี คือ เป็นสะพานไม้โค้งกว้าง สองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้ขายของ ส่วนตรงกลางเป็นทางเดิน ซึ่งสะพานนี้ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ชอบเสด็จประพาสเพื่อซื้อผลไม้แห้งที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นลูกพลับแห้ง และผลไม้แห้งต่างๆ นานาชนิด
|
|
ย่านการค้า |
ในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ มีย่านการค้าที่ขึ้นชื่อและมีสินค้ามากและทันสมัยสำหรับยุคสมัยนั้น ได้แก่ ย่านถนนแพร่งนรา ชื่อถนนมาจากพระนาม “ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ “ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายวรวรรณษกร ต้นราชสกุลวรวรรณ ณ อยุธยา เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเขียน ทรงรับราชการในกรมพระคลังมหาสมบัติ ตำแหน่งรองเสนาบดี ประทับ ณ วัง ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกโปรดให้สร้างขึ้นริมถนนตะนาว มีอาณาเขตต่อจาก วังพระเจ้าบรมวงศ์กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ขณะประทับ ณ วังนี้ โปรดให้สร้างโรงละครขึ้นชื่อโรงละครปรีดาลัย แสดงละครร้องนับเป็นโรงมหรสพแห่งแรกของไทย ในครั้งนั้นสันนิษฐานว่า โปรดให้ตัดถนนผ่านกลางวังพร้อมกับสร้างตึกแถว สองข้าง คนทั่วไปจึงเรียกถนนตามพระนามเจ้าของวังว่า “ถนนแพร่งนรา"
|
|
ถนนแพร่งภูธร ชื่อถนนมาจากพระนาม “ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ “ ซึ่งมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ ต้นราชสกุลทวีวงศ์ เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาตลับทรงรับราชการตำแหน่ง เสนาบดีกระทรวงนครบาล ประทับ ณ วัง บริเวณริมถนน หัวมุมสี่กั๊กเสาชิงช้า ริมถนนบ้านตะนาว ครั้นกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2440 หม่อมเจ้าในกรมได้ขายวังให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกแถว และตัดถนนผ่านบริเวณวังเรียก ชื่อตามพระนามเจ้าของวังว่า “ ถนนแพร่งภูธร ” |
|
ถนนแพร่งสรรพศาสตร์ ชื่อถนนมาจากพระนาม “ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ “ พระนามเดิมคือ พระองค์เจ้าชายทองแถม ถวัลยวงศ์ ต้นราชสกุลทองแถม เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ทรงรับราชการตำแหน่ง กรมช่วยมหาดเล็ก เป็นผู้บังคับการกรม ประทับ ณ วังริมถนนบ้านตะนาว ในอาณาเขตต่อจากวัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์ ทายาทได้ขายพื้นที่ตั้งวัง ให้กับเอกชน ตัววังถูกรื้อสร้างอาคารพานิชย์ และตัดถนนผ่าน ถนนผ่านบริเวณวังเรียก ชื่อตามพระนามเจ้าของวังว่า “ถนนแพร่งภูธร ” |
|
ย่านบางรัก เป็นย่านการค้าที่สำคัญ มีร้านค้าที่ทันสมัยอยู่มาก ย่านเยาวราช อันเป็นย่านที่มีชาวจีนโพ้นทะเลอาศัยอยู่มาก มีวัฒนธรรมการกินอยู่ที่น่าสนใจ |
|
หอชมเมือง |
จำลองมาจากหอคอยคุก ซึ่งเป็นหอคอยที่ใช้สำหรับตรวจตราป้องกันมิให้นักโทษหนี ซึ่งเมืองมัลลิกา ใช้สำหรับชมเมือง ว่ามีทัศนียภาพที่ว่างดงามเพียงใด |
|
เรือนเดี่ยว |
เป็นเรือนชาวบ้าน ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่เรือนนี้คือคนชนชั้นกรรมาชีพ มีหน้าที่ ผลิตปัจจัยเบื้องต้นในการยังชีพอันได้แก่ การทำไร่ ทำนา ทำสวน ปลูกผัก สีข้าว ทอผ้า จักสาน อันเป็นอาชีพทั่วไปของชนชั้นนี้ ในเมืองมัลลิกา นั้นจะมีเรือนเดี่ยว เพื่อแสดงถึงวิถีของชาวบ้านในสมัย ร.ศ. ๑๒๔ ว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร |
|
เรือนหมู่ |
เป็นเรือนสำหรับรับรองแขกบ้านแขกเมือง ของคหบดีไทยซึ่งอาจเป็น ขุนนางผู้ทรงศักดิ์ หรือคหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งในสมัยนั้น นิยมมีคณะนาฎศิลป์ เป็นของตนเอง สำหรับรับแขก ดังนั้นเมืองมัลลิกา จึงสร้างเรือนหมู่ ขึ้นซึ่งถือว่าเป็นเรือนหมู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเรือนหมู่ดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงวิถึชีวิต ของนาฎศิลป์ไทย ว่าใช้ชีวิตอย่างไรในเวลากลางวันและในเวลากลางคืนเมื่อมีแขกบ้านแขกเมืองมาเยี่ยมเพื่อรับประทานอาหารเย็นนั้น บนเรือนจะมีการแสดงนาฎศิลป์ไทย และเสิร์ฟอาหารไทยโบราณทีคงความเป็นไทย ในแบบฉบับของไทย อาหารที่เป็นภูมิปัญญาไทย ที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างสรรค์ไว้ให้ลูกหลานไทย เราจะเห็นอาหารที่เป็นภูมิปัญญาโดยแท้ อาทิ แกงบวน ซึ่งเป็นต้มเครื่องในที่ไร้กลิ่นคาว มีสมุนไพรมากมายเพื่อบำรุง ทำให้อาหารมีประโยชน์เต็มที่ และจะได้สัมผัสความวิจิตรบรรจงของสำรับกับข้าวไทย ว่าคนไทยไม่ได้กินด้วยปากอย่างเดียว แต่กินด้วยตาด้วย ซึ่งไม่ว่าชนชาติใดในโลกก็ต้องยอมรับศิลปะของไทยแม้กระทั่งการกิน |
|
เรือนคหบดี |
เป็นเรือนคนมีฐานะ บนเรือนคหบดีนั้น แสดงวิถีความเป็นอยู่ของชนชั้นปกครองซึ่งจะมีกิจกรรมบนเรือน เช่น งานใบตอง งานดอกไม้ งานเครื่องแขวน งานแกะสลักผลไม้ ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานวิจิตรที่จะใช้จริงในเมืองมัลลิกา และในบริเวนเรือนคหบดีนั้นยังเรือนที่เป็นองค์ประกอบของเรือน คือ เรือนครัว ซึ่งต้องทำอาหารเลี้ยง บ่าวไพร่ที่มีเป็นจำนวนมาก โดยการหุงข้างเตากระทะ การประกอบอาหาร หวาน คาว สำหรับรับรองแขกเหรื่อ |
|
โรงครัว |
ประกอบด้วย โรงสี ยุ้งข้าว โรงเตรียม แสดงกรรมวิธีการฝัดข้าว สีข้าว ตำข้าว พร้อมทั้ง การหุงข้าวเตากระทะใบบัว แม่ครัวในโรงครัวนั้นต้องทำอาหารเลี้ยงบ่าวไพร่จำนวนมาก และประกอบอาหารคาวหวาน เพื่อรับรองแขกเหรื่อ โดยเป็นการประกอบอาหารด้วยเตาถ่านทั้งสิ้น |
|
 |
|
เรือนแพ |
ในยุคสมัยนั้น การสัญจรไปมาส่วนใหญ่ใช้แม่น้ำดังนั้น ร้านค้าขายที่จะตั้งอยุ๋ริมน้ำเป็นส่วนใหญ่ซึ่งในเมืองมัลลิกาก็เข่นเดียวกัน จะมีเรือนแพสำหรับค้าขาย เป็นร้านกาแฟ ตงฮู ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ทันสมัยในยุคนั้นโดยการนำเข้าเมล็ดกาแฟสดจากต่างประเทศเข้ามา และเพื่อรองรับนักเดินทาง ก็จะมีร้านข้าวแกงทรงโปรดในเรือนแพนี้ด้วย อันร้านข้าวแกงทรงโปรดนั้น ทางเมืองมัลลิกาได้ นำเอาอาหารที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงโปรดมา เพื่อให้ประสกนิกร และนักท่องเที่ยวได้เห็นความเรียบง่ายของอาหารที่ มหาราชขของชนชาวไทยเสวยซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่ง่ายแต่มีความอร่อยอย่างไทยแท้ |
|
ลานมะลิ & ศาลาแปดเหลี่ยม |
เนื่องจากมัลลิกา ตามพจนานุกรมไทยแปลว่ามะลิ ในประเทศไทยมีมะลิมากกว่าร้อยชนิด ซึ่งคนรุ่นใหม่ไม่ทราบกันมากจึงได้สร้างลานมะลิเพื่อรวบรวมมะลิพันธุ์ต่างๆมาไว้ให้ได้ดูและได้ดม |
|
|
|
ค่าเข้าชมเมืองมัลลิกา |
|
ผู้ใหญ่ |
250 |
บาท |
ผู้สูงอายุ 70 ปี ขึ้นไป |
120 |
บาท |
|
|
|
เด็ก สูง 100-130 เซ็นติเมตร |
120 |
บาท |
เด็ก สูงเกิน 130 เซ็นติเมตร |
250 |
บาท |
( คิดเป็นราคาผู้ใหญ่ ) |
|
|
|
|
|
|
ค่าเข้าชม พร้อมอาหารเย็น และ ชมโชว์การแสดง |
|
ผู้ใหญ่ |
700 |
บาท |
ผู้สูงอายุ 70 ปี ขึ้นไป |
350 |
บาท |
|
|
|
เด็ก สูง 100-130 เซ็นติเมตร |
350 |
บาท |
เด็ก สูงเกิน 130 เซ็นติเมตร |
700 |
บาท |
( คิดเป็นราคาผู้ใหญ่ ) |
|
|
|
|
|
|
*ราคาบัตรรวม ข้าวสวย ผลไม้รวม เครื่องดื่ม (น้ำเปล่า) สามารถเติมอาหารได้ไม่จำกัด |
|
 |
|
อาหารสำหรับมื้อเย็น |
ประกอบไปด้วย หมี่กรอบ แกงบวน น้ำพริกขี้กา ยำใหญ่ แกงมัสมั่น ที่เลือกอาหารดังกล่าวมานั้นเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ลิ้มชิมอาหารที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยที่หากินได้ยากในปัจจุบัน หรือที่มีอยู่ก็ถูกดัดแปลงไปมากแล้ว |
แกงบวน เมื่อพูดถึงต้มเครื่องในสัตว์ ทุกคนต้องนึกถึงกลิ่นคาว แต่ด้วยภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยนั้นทำให้ได้กินเครื่องในที่ไร้ซึ่งกลิ่นคาว โดยการนำสมุนไพรต่างๆ มีคั่วมาตำแล้วจึงนำมาปรุงกับเครื่องในหมูทำให้ได้ต้มเครื่องในที่เรียกว่า แกงบวน ซึ่งกรรมวิธีการทำนั้นยุ่งยากมากจึงทำให้แกงบวนเป็นอาหารที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักเนื่องจากหาคนทำเป็นได้ยากขึ้นทุกที |
หมี่กรอบ อาหารที่ถูกดัดแปลงจนปัจจุบันพอพูดถึงหมี่กรอบคนรุ่นใหม่จะนึกถึงหมี่ที่ทอดมาฟูๆ แล้วนำมาคลุกกับเครื่องเคราออกมาเป็นก้อนแข็งๆ กรอบๆ เก็บได้นาน แต่หมี่กรอบดั้งเดิมนั้นเส้นหมีจะไม่ฟูแต่ขาวรสชาดหอมจากส้มซ่า หวานไม่มาก รสชาติกลมกล่อมแต่เก็บได้ไม่นาน นอกจากนี้ยังมี น้ำพริกขี้กา แกงมัสมั่นไก่ ยำใหญ่ อีกด้วย |
|
 |
|
การแสดง |
มีทั้งหมด 8 ชุด ระยะเวลา 1 ชั่วโมง เริ่มแสดงที่เวลา 19.00 น. |
|
โขน (ตอนยกรบ) |
โขน ชุด ทศกัณฐ์รบพระราม (ยกรบ) การแสดงชุดนี้ อยู่ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์เป็นการทำสงครามระหว่างพระราม พระลักษณ์ และพลวานรกับทศกัณฐ์พญายักษ์แห่งกรุงลงกา การรบของทั้งสองฝ่ายเต็มไปด้วยชั้นเชิงของลีลาท่ารำ กระบวนการรบและความสามารถที่มีเอกลักษณ์ประณีตงดงาม |
|
รำซัดชาตรี |
เป็นการแสดงที่นิยมจนมีแบบแผนเป็นของตนเอง ในแบบศิลปะทางใต้ของไทยปรับปรุงมาจากรำซัดไหว้ครูของละครชาตรี ซึ่งเคยเป็นละครรำแบบเก่าชนิดหนึ่งของไทย ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของละครรำประเภทต่างๆ ซึ่งได้รับการปรับปรุงในสมัยต่อมา ประเพณีการแสดงละครชาตรี ถือธรรมเนียมกันว่าผู้แสดงตัวพระ จะต้องรำไหว้ครูเป็นการเบิกโรงเรียกว่า " รำซัด " โดยมีโทน ปี่ กลอง กรับ ประกอบจังหวะ ต่อมากรมศิลปากรได้ดัดแปลงรำซัด และปรับปรุงให้มีผู้รำทั้งฝ่ายชาย(ตัวพระ) และหญิง(ตัวนาง) เพื่อให้น่าดูมีชีวิตชีวา โดยรักษาจังหวะอันเร่งเร้าไว้อย่างเดิม สิ่งสำคัญของการรำนั้น จะมีการรวมจุดที่กำหนดเป็นอย่างดีระหว่างท่าทางที่เคลื่อนไหว ในระหว่างที่รำอยู่ในจังหวะที่เร่งเร้าของผู้รำ กับจังหวะของการตีกลอง ผู้ตีกลองจะต้องตีกลองไปตลอดเวลาไปพร้อมๆ กับผู้ที่ร่ายรำจนครบจังหวะของการแสดง ให้ประสานกลมกลืนกัน จนเป็นที่นิยมชมชอบจากผู้ชมที่ได้ชมการแสดงชุดนี้เสมอมา |
|
ฟ้อนแพน |
สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการแสดงละครพันทาง เรื่องพระลอ บทประนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง ซึ่งท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นการนำลีลาท่าฟ้อนทางภาคเหนือมาผสมผสานกับท่ารำไทย และดัดแปลงให้เหมาะสมกับท่วงทำนองเพลง แต่เดิมการฟ้อนแพนในเรื่องพระลอนั้น เป็นการรำคนเดียว คือฟ้อนเดี่ยว ต่อมานางลมุล ยมะคุปต์ ได้นำมาใช้ในการฟ้อนหมู่โดยเพิ่มเติมลีลาการฟ้อนให้มากขึ้น มีทั้งผู้แสดงหญิงล้วน และผู้แสดงชาย – หญิง โดยมีบทร้องประกอบ ซึ่งประพันธ์โดยพลตรี หลวงวิจิตรวาทการ จัดแสดงครั้งแรกเมื่อครั้งที่โรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์ (ปัจจุบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลป) นำไปเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศ ญี่ปุ่น บทร้อง มี ๒ แบบ คือ แบบเต็ม และแบบตัด แต่ในปัจจุบันแสดงแบบไม่มีบทร้องประกอบ |
|
รำกินรีร่อน |
การแสดงชุดนี้ได้รวมการแสดงสองชุดมาไว้ในชุดเดียวกัน เพื่อให้น่าสนใจแปลกตายิ่งขึ้น การแสดงชุดนี้ได้รับความนิยมยกย่องอย่างมากในด้านความวิจิตรสวยงามของกระบวนท่ารำ และเครื่องแต่งกาย โดยชุดแรก คือ กินรีร่อนเป็นการรำในฉากหนึ่งที่นางมโนราห์และพี่ๆบินมาเล่นน้ำที่สระอโนดาษ เขาไกรลาศ และการแสดงอีกชุดหนึ่งที่นำมารวมกันไว้คือ ชุดการรำมโนราห์ โดยคุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ มโนราห์บูชายันต์เป็นการรำของนางมโนราห์ก่อนที่จะแกล้งโดดเข้ากองไฟเพื่อบินหนีไป |
|
 |
|
การแสดงเชิดหุ่นคน |
ศิลปะการแสดงหุ่นคนมีต้นกำเนิดจากหุ่นหลวง หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก และการแสดงหุ่นของภาคต่างๆ หนังตะลุง โขน ละครและ ระบำ รำ ฟ้อน มาผสมผสานกันระหว่างศิลปะการเชิดหุ่นและหนังใหญ่ต่างๆ ตลอดจนการแสดงศิลปะแบบสากลประกอบกับลีลาท่าทางของผู้แสดงให้ออกมาเป็นเรื่องราว
|
|
ลาวกระทบไม้ |
รำกระทบไม้เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์เดิมเรียกว่า เต้นสาก ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทย ส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก หลังจากเลิกงาน จึงนำสากตำข้าวมากระทบกันเป็นเครื่องประกอบจังหวะพร้อมกับมีการละเล่นให้เข้ากับจังหวะแต่เดิมคงเป็นจังหวะตำข้าวในลักษณะยืนตำ 2 คน ต่อมาจึงลากไม้สากมาวางตามยาว มีคนจับปลายสาก หัว ท้าย ข้างละคน พร้อมทั้งใช้ไม้หมอนรองเคาะเป็นจังหวะ |
|
กระบี่กระบอง |
การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทย ที่เรียกว่า กระบี่กระบอง เพราะเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยนำเอาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้รบกันในสมัยโบราณมาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบโดยนำหวายมาทำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว เป็นต้น โดยเอาหนังมาทำโล่ เบน ดั้ง แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุกและรับไปในตัว |
|
เพลงรำภิรมย์พัชนี |
ฝ่ายนาฏศิลป์ เมืองมัลลิกา ได้มีแรงบันดาลใจมาจาก การแต่งกายและกิริยาท่าทางของหญิงสาวในสมัย ร.ศ. 124 มาประดิษฐ์เป็นท่ารำให้มีความสวยงามและเลือกบทเพลงที่เข้ากับบรรยากาศ ร.ศ.124 ให้มีความลงตัวและเหมาะสมกับท่ารำ ความสง่างามของหญิงสาวในสมัย ร.ศ. 124 ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเพลงให้มีความเพลิดเพลินจึงตั้งชื่อชุดการแสดงนี้ว่า ภิรมย์พัชนี |
|
|
บริการต่างๆ |
เมืองมัลลิกา ร.ศ.124 กาญจนบุรี : Mallika Kanchanaburi |
|
 |
|
รถลาก |
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่ารถเจ๊ก รถที่ใช้คนลาก โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ |
ค่าบริการ 50 บาท ต่อเที่ยว สามารถซื้อตั๋วได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วหน้าเมือง |
|
แต่งกายชุดไทย |
ผู้หญิง มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ |
ราคา 200 บาท : ผ้าสไบ โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มรัด และร่ม |
ราคา 300 บาท : เสื้อแขนหมูแฮม พร้อมแพรสะพาย โจงกระเบน เครื่องประดับ เข็มขัด และร่ม
|
|
ผู้ชาย |
ราคา 100 บาท : เสื้อกุยเฮง โจงกระเบน และผ้าคาดเอว |
ราคา 300 บาท : เสื้อราชปะแตน โจงกระเบน |
|
เด็ก ราคา 50 บาท : เสื้อคอกระเช้าสำหรับผู้หญิง เสื้อกุยเฮงสำหรับผู้ชาย และโจงกระเบน
|
|
เงินรู |
เป็นเงินตราที่ใช้สมัยโบราณทั้งอยูธยาและสุโขทัย และได้นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในเมืองมัลลิกา
|
อัตราการแลกเงินรู : 1 สตางค์ = 5 บาท |
|
|
หมายเหตุ : อัตราราคาต่างๆอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ |
|
|
www.centerresort.com |